หน้าแรก ข่าวต่างประเทศ

บังคลาเทศกำลังพิจารณายกเลิกบทบัญญัติ ว่าด้วยศาสนาประจำชาติ

จำนวนประชากรมุสลิมร้อยละ 89 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศ มีนักเขียนจำนวนเก้าคน รวมทั้งบล็อกเกอร์ และสำนักพิมพ์ในประเทศ ที่สนับสนุนแนวคิดแซคคิวล่า ภาพ รอยเตอร์

นับตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศได้รับเอกราชเมื่อปี 1971 บังคลาเทศถือเป็นประเทศแรกในเอเชียใต้ ที่ใช้รัฐธรรมนูญในลักษณะเสรีนิยม

แต่ระหว่างปี 1977 ถึง 1988 รัฐบาลบังคลาเทศได้มีความพยายามที่จะใช้กฎหมายเกี่ยวกับอิสลาม จนกระทั่งศาสนาอิสลามได้รับการยอมรับเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ ในสมัยการปกครองของอดีตผู้นำเผด็จการทหาร ท่านฮุสเซน มูฮัมหมัด เออร์ชาด ที่ทำการยึดอำนาจในฐานะประธานาธิบดีที่ 10

จากนั้น 28 ปีต่อมา ระบบตุลาการของประเทศแห่งนี้ เริ่มมีการถ่วงถามเกี่ยวกับสถานะของความเป็นอิสลามในรัฐธรรมนูญ

เมื่อช่วงต้นสัปดาห์นี้ ศาลสูงสุดได้มีการแต่งตั้งคณะบุคคลที่นำโดยหัวหน้าผู้พิพากษาไนมาร์ ไฮเดอร์ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากกลุ่มบุคคลที่มีสถานะทางสังคมจำนวน 15 คน

ซึ่งทั้งสิบห้าคนดังกล่าวได้ยื่นคำร้องของพวกเขาตั้งแต่ปี 1988 หลังช่วงสมัยของผู้นำเออร์ชาด แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด จนกระทั่งศาลสูงสุดได้ตัดสินเมื่อเดือนธันวาคม 2011 เพื่อรื้อฟื้นเรื่องสถานะของความเป็นอิสลามอีกครั้ง ในฐานะศาสนาประจำชาติ

คำตัดสินดังกล่าว ทนายความจากทั้ง 15 คนดังกล่าว โซฆูล ไฮเดอร์ อรีฟ ได้ยื่นคำร้องเมื่อเดือนกันยายนของปีที่แล้ว เพื่อให้พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งล่าสุดได้สิ้นสุดลงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ในบรรดาตัวแทนกลุ่มดังกล่าวประกอบไปด้วย อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกากามาล อุดดีน ฮูซัยน์ ท่านนายพล เกษียณราชการ ซีอาร์ ดุตตา ศาสตราจารย์ระดับประเทศ ท่านคาบิร ชูโดรีย์ นักเขียนท่านบาดารุดดีน อูมาร์ และนักข่าว ฟาอิซ อาเหม็ด

ในจำนวน 15 คนนั้น มีเพียงสองในสี่เท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่คือซีอาร์ ดุตตา และฟาอิซ อูมา

นายพอร์ทัล เบรทบาท ได้รายงานว่าการดำเนินการพิจารณาของศาล จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ หลังจากผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงที่เป็นเหตุให้ศาสนิกต่างๆ เสียชีวิต ทั้งฮินดู คริสต์ และชนกลุ่มน้อย ในอาชญากรรมเกิดจากความเกลียดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

นับตั้งแต่ปี 2013 มีนักเขียนจำนวนเก้าคน บล็อกเกอร์ และสำนักพิมพ์ที่สนับสนุนแนวคิดเสรี ได้ถูกฆาตกรรมโดยมุสลิมที่สุดโต่งในข้อหาเป็นกลุ่มคนที่ไม่เชื่อในพระเจ้า

“เมื่อประเทศหนึ่งได้ทำการยอมรับศาสนาที่เป็นทางการ(ศาสนาประจำชาติ) มันจะกลายเป็นการบ่อนทำลายความสามัคคี เพราะมันจะเป็นการให้การยอมรับของความเป็นเจ้าของของศาสนา และเหยียบหยามศาสนาอื่น”

“เราหวังว่าและขอเรียกร้องให้ทุกๆ ศาสนาในบังคลาเทศ ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ทั้งในแง่ของสถ​​านะ และการให้เกียรติ” ท่านดีครูซ กล่าวเพิ่มเติม ในฐานะประธานของคณะกรรมการเพื่อความสามัคคีของคริสตจักรและการสานเสวนาระหว่างศาสนา

“ศาสนาประจำชาตินั้นได้ก่อให้เกิดความรู้สึกของความเป็นเจ้าของศาสนาอิสลามที่มีต่อศาสนาอื่นๆ มีการเสนอ ‘อาวุธ’ ให้กับมุสลิมสุดโต่ง เพื่อปราบปรามชุมชนของชนกลุ่มน้อย” มาร์ติเน โกวินดา ชาดรา เลขานุการของศาสนาฮินดูแห่งบังคลาเทศ กล่าวเพิ่มเติม

จำนวนประชากรมุสลิมร้อยละ 89 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนประชากร 169 ล้านคนของบังกลาเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอtลุลซุนนะฮฺวัลญามาอะฮ ตามด้วยศาสนาฮินดูร้อยละ 9.5 เปอร์เซ็นต์

ซึ่งประเทศบังคลาเทศได้ให้การยอมรับแค่สี่ศาสนาเท่านั้นคือ อิสลาม ฮินดู พุทธ และคริสต์

ที่มา http://www.themalaymailonline.com/projekmmo/berita/article/bangladesh-timbang-gugur-islam-sebagai-agama-rasmi?utm_source=twitterfeed&utm_medium=facebook